วันจันทร์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

learninglog

ทักษะกระบวนการคิด
กรอบการพัฒนาทักษะกระบวนการคิด
ปัจจุบัน สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้
ระดมข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับการพัฒนาการคิดให้แก่นักเรียน จากผู้ที่ศึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาการคิดให้กับ
นักเรียน ได้กรอบความคิดในการพัฒนานักเรียนให้มีความสามารถด้านการคิดอย่างเข้มแข็ง คือ
Selfregulation
Applying
Gathering
Processing
ผลการเรียนรู้ที่แสดงออกของผู้เรียน
Standard
จากที่ได้ศึกษา และสังเกตการพัฒนากระบวนการคิดให้กับนักเรียน พบว่า กรอบการพัฒนา
การคิดข้างบนนี้สามารถพัฒนาให้เป็นหลักการในการพัฒนาการคิดได้ คือ ในการคิดเรื่องอะไรก็ตาม ต้องมี
การรวบรวมข้อมูล(Gathering) ให้สอดคล้องกับเรื่องที่คิด และเพียงพอต่อการนำไปใช้ในการตัดสินใจ
ดำเนินการต่อไป เมื่อได้ข้อมูลมาแล้ว ต้องนำข้อมูลมาจัดกระทำ(Processing) และนำข้อมูลที่จัดกระทำแล้ว
ไปใช้(Applying) เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของการคิดที่กำหนดไว้ โดยทุกขั้นตอนของการคิดตามกรอบนี้ ผู้คิด
ต้องคิดอย่างรอบคอบและมีคุณธรรม คือมีการควบคุม กำกับตนเองขณะคิด(Self-regulation) ซึ่งแต่ละ
ขั้นตอน มีรายละเอียดที่น่าสนใจ ดังนี้
1. การเก็บรวบรวมข้อมูล(Gathering) อาจจะมีกิจกรรมดังต่อไปนี้บางส่วนหรือทั้งหมด
􀂾 กำหนดประเด็นที่จะรวบรวมข้อมูล
􀂾 ค้นหาข้อมูลจากแหล่งข้อมูลหลากหลาย
􀂾 เก็บรวบรวมข้อมูลจากแหล่งที่เชื่อถือได้
􀂾 บันทึกข้อมูลที่เก็บรวบรวม
􀂾 เลือกข้อมูลที่ต้องการนำมาใช้ตามเป้าหมายการคิด
ดร.เฉลิม ฟักอ่อน ศึกษานิเทศก์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลำพูน เขต 1 .(เมษายน 2550)
2. การจัดกระทำข้อมูล(Processing) อาจจะมีกิจกรรมดังต่อไปนี้
􀂾 จำแนกข้อมูล
􀂾 เปรียบเทียบข้อมูล
􀂾 จัดกลุ่ม
􀂾 จัดลำดับ
􀂾 สร้างข้อสรุป
3. การประยุกต์ใช้ความรู้(Applying) อาจจะมีกิจกรรมดังต่อไปนี้
􀂾 ประเมินทางเลือก
􀂾เลือกทางเลือก
􀂾ใช้ความรู้อย่างสร้างสรรค์
􀂾ขยายความรู้ให้รู้จริงมากขึ้น
􀂾สังเคราะห์
4. การควบคุม กำกับตนเอง(Self-regulation) (คิดอย่างมีสติ)อาจจะมีกิจกรรมดังต่อไปนี้
􀂾ตรวจสอบและควบคุมการคิดของตนเอง
􀂾มีค่านิยมที่ถูกต้อง มีคุณธรรม
􀂾สร้างนิสัยการคิด
􀂾เรียนรู้ด้วยตนเอง
􀂾สร้างค่านิยมการคิดเพื่อส่วนรวม
สำหรับแนวทางในการพัฒนานักเรียนมีความสามารถในการคิดนั้น ขณะนี้ สพฐ.ได้เผยแพร่ โดย
ดำเนินการ ดังนี้
􀂾 เชื่อมโยงความสัมพันธ์
􀂾 ไตร่ตรองด้วยเหตุผล
􀂾 วิจารณ์
􀂾 ตรวจสอบ
􀂾ตัดสินใจ
􀂾การนำความรู้ไปปรับใช้
􀂾การแก้ปัญหา
􀂾การคิดวิเคราะห์วิจารณ์
􀂾การคิดสร้างสรรค์
ตรวจสอบผลงานของ
นักเรียน
กำหนดมิติ
การประเมิน(Rubrics)
ประเมินผลงานของ
นักเรียน
ส่งเสริมให้นักเรียนพัฒนา
ผลงานของตนเอง
ดร.เฉลิม ฟักอ่อน ศึกษานิเทศก์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลำพูน เขต 1 .(เมษายน 2550)
จากกรอบความคิดที่มี 4 ด้านดังกล่าว ในการตรวจสอบผลงานของนักเรียนครูจึงควร
ตรวจสอบข้อมูล(เนื้อหาสาระ)ที่นักเรียน
รวบรวม(ขั้นGathering) ในผลงานของนักเรียนที่นักเรียน
ทำงานมาส่ง และตรวจสอบแบบแผนการคิด(วิธีคิด-ขั้นProcessing ข้อมูล)ของนักเรียนจากผลงาน
ของนักเรียน ซึ่งข้อมูล และแบบแผนการคิดของนักเรียน มีรายละเอียดการพิจารณา ดังนี้
ข้อมูล(เนื้อหาสาระ)ของผลงานของนักเรียน แบ่งการพิจารณาเป็น 2 ประเด็น ได้แก่
1. ปริมาณของข้อมูล(ปริมาณของเนื้อหาสาระของผลงาน) ถ้านักเรียนที่ทำงานยังไม่เก่ง
หรือไม่ค่อยให้ความสนใจ จะนำเสนอเนื้อสาระในผลงานเพียงระดับการรับรู้และจำได้เท่านั้น คือมี
ปริมาณของข้อมูลเท่าที่ครูสอน เท่าตำราเรียน คัดลอกจากอินเทอร์เน็ต หรือน้อยกว่า ส่วนนักเรียนที่
สนใจใฝ่รู้ จะส่งผลงานที่มีเนื้อหาสาระที่มีการขยายรายละเอียด และมีเนื้อหาสาระอื่น ๆ ที่มีหลาย
แง่หลายมุม มากกว่าที่เรียนในห้องเรียน หรือในแบบเรียนซึ่งได้จากการศึกษา ค้นคว้าจากแหล่ง
ความรู้ต่าง ๆ เนื่องจากนักเรียนต้องการความรู้ที่กว้างและลึกกว่าที่ครูสอน แล้วจึงนำมาบรรจุไว้ใน
ผลงานของนักเรียน และนำเสนอเป็นรูปแบบของตนเอง ไม่คัดลอกมาจากแหล่งความรู้ที่ตนศึกษา
ค้นคว้ามา
2. คุณภาพของข้อมูล(คุณภาพของเนื้อหาสาระที่นักเรียนนำเสนอในผลงานของนักเรียน)
นักเรียนที่มีความใฝ่รู้ใฝ่เรียนจะนำเสนอเนื้อหาสาระของผลงานเป็นภาพกว้าง ซึ่งมีเนื้อหาสาระที่
ขยายวงกว้างกว่าที่ครูสอน หรือมีรายละเอียดมากกว่าที่ครูสอน เชื่อมโยงกับชีวิตจริง และเป็น
เนื้อหาสาระที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่เรียน ส่วนนักเรียนที่ยังคิดไม่ค่อยเก่ง จะนำเสนอเนื้อหาสาระในวง
แคบ นำเสนอเป็นส่วน ๆ เฉพาะที่ เฉพาะอย่าง ข้อมูลในเนื้อหาสาระไม่เชื่อมโยงต่อเนื่องกัน และ
วนเวียนอยู่ในเนื้อหาวิชา ไม่เชื่อมโยงถึงการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน
ส่วนแบบแผนการคิด หรือวิธีคิดที่สังเกตได้จากผลงานของนักเรียน แบ่งได้หลายมิติ/
ประเด็น แล้วแต่งานที่มอบหมายให้นักเรียนทำ หรือแล้วแต่ชนิดของงานที่นักเรียนทำขึ้น และ
จุดเน้นที่ครูต้องการพัฒนานักเรียน ซึ่งมีมุมมองในการตรวจสอบแบบแผนการคิดของนักเรียนจาก
ผลงานของนักเรียน โดยอาจจะตรวจสอบหลายด้าน หรือด้านเดียวที่กล่าวข้างล่าง แล้วแต่ครูผู้สอน
จะพิจารณา และที่สำคัญ ครูควรพิจารณาให้ครอบคลุมกับงานที่ได้มอบหมายให้นักเรียนทำ จะทำ
ให้นักเรียนพัฒนาu3586 .ึ้นอย่างมีคุณภาพเช่น
1. แนวคิด แง่มุมมอง และการสร้างองค์ความรู้ของนักเรียน
นักเรียนที่สนใจน้อย จะนำเสนอเนื้อหาสาระ(ข้อมูล)ในผลงานเป็นรูปธรรม เป็น
ภาพนิ่ง หรือนำเสนอเพียงแง่มุมมองเดียว ถ้าผลงานดีขึ้นมาอีก คือ นักเรียนจะนำเสนอเนื้อหาสาระ
แม้จะเป็นรูป ธรรม หรือภาพนิ่ง แต่มีหลายแง่หลายมุมมอง สำหรับผลงานที่ดีที่ต้องการคือ นักเรียน
นำเสนอเนื้อหาสาระหลายแง่ หลายมุมมอง และสรุปเป็นองค์ความรู้ หลักการที่เข้าใจง่าย และ
สามารถนำข้อค้นพบจากผลงานนี้ไปใช้ประโยชน์ได้กว้างขวาง
ดร.เฉลิม ฟักอ่อน ศึกษานิเทศก์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลำพูน เขต 1 .(เมษายน 2550)

2. ประโยชน์ต่อการนำไปใช้ในชีวิตจริง
นักเรียนที่สนใจน้อย จะนำเสนอเนื้อหา(ข้อมูล)ในผลงานเป็นส่วน ๆ เล็ก ๆ กระจัด
กระจาย ถ้าดีขึ้นมาเล็กน้อยจะมีการนำเสนอเนื้อสาระที่จำแนก จัดเป็นกลุ่ม ๆ ที่ชัดเจน ผลงานที่มี
คุณภาพดีขึ้นมาอีก คือ มีการนำเสนอเนื้อสาระที่มีการจัดความสัมพันธ์ ร้อยรัดเป็นอย่างดี เป็นลำดับ
เป็นเหตุ เป็นผล เป็นระบบ และสัมพันธ์กับชีวิตจริง
3. คุณธรรม จริยธรรม
ผลงานของนักเรียนที่ยังค่อยไม่พัฒนาการคิด จะทำงานตามที่ครูสั่ง แม้กระทั่งชื่อเรื่อง
ที่ทำก็เหมือนที่ครูสั่ง และนำเสนอเนื้อหาสาระของงานที่แสดงให้เห็นว่าเนื้องานนั้นมีประโยชน์ต่อ
ตนเองเท่านั้น หรือที่ทำงานชิ้นนี้เนื่องจากรู้สึกว่าถูกบังคับ หรือทำเพื่อคะแนน ส่วนนักเรียนที่มีการ
พัฒนาการคิดมากขึ้น จะนำเสนอผลงานที่แสดงให้เห็นว่า เป็นงานที่นักเรียนเลือกทำเอง มีความ
ภาคภูมิใจ แสดงให้เห็นว่างานที่ทำมีประโยชน์อย่างกว้างขวางต่อส่วนรวม และเพื่อให้สังคมมีความ
เท่าเทียมกัน รวมทั้งคำนึงถึงผลกระทบระยะสั้น และระยะยาว ตลอดจนผลกระทบที่เกิดขึ้นกับ
บุคคลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง(พิจารณากระทบต่อบุคคลที่อยู่ไกล้ตัว ถ้าจะให้ดีขึ้นอีก จะทำอะไรก็ตาม
ควรคิดถึงผลกระทบถึงบุคคลที่เกี่ยวข้องที่ไกลออกไปด้วย) ที่อาจจะเกิดขึ้นจากการทำงานชิ้นนี้
4. การใช้ภาษาในการนำเสนอผลงาน
ผลงานของนักเรียนที่มีการพัฒนาการคิดน้อย มักจะนำเสนอเป็นประโยคโดด ๆ
แยกเป็นส่วน ๆ ไม่เชื่อมโยง ต่อเนื่องราบรื่น และมักเป็นการคัดลอกมาจากต้นฉบับ จึงมีสำนวน
หลากหลาย ส่วนนักเรียนที่มีการคิดเห็นระบบ จะนำเสนอผลงานด้วยภาษาของตนเอง มีความ
ชัดเจน มีความสละสลวย ต่อเนื่องเชื่อมโยงร้อยรัดน่าสนใจ อ่านแล้วได้แง่คิดหลายแง่มุม สามารถ
นำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างหลากหลาย
ในการประเมินผลงานของนักเรียน ครูต้องนำหลักการประเมินผลงานของนักเรียน
ที่กำหนดว่า ควรตรวจสอบข้อมูล(เนื้อหาสาระ)ของผลงานของนักเรียน และแบบแผนการคิดของ
นักเรียนนี้ มาจัดทำเป็นมิติคุณภาพ(Rubrics) จะเป็นกี่ระดับคุณภาพแล้วแต่ผู้สอนต้องการ โดยควร
จัดทำให้ครอบคลุม และชัดเจน สำหรับการใช้ในการประเมินผลงานแต่ละครั้ง หลังจากประเมิน
ผลงานของนักเรียนแล้ว ครูต้องมีภาพของผลงานของนักเรียนที่ดี มีคุณภาพตามลักษณะงานที่ทำ
แล้วครูจึงให้ข้อมูลป้อนกลับ(Feedback) แก่นักเรียนที่ชัดเจน อธิบายหรือชี้ให้นักเรียนเห็น
แนวทางการพัฒนาผลงานให้มีคุณภาพสูงขึ้นทั้งด้านข้อมูล และแบบแผนการคิดได้ด้วยตนเอง
โดยที่ครูต้องไม่บอกว่า ต้องทำตรงนั้นเพิ่ม ทำตรงนี้เพิ่ม แต่ให้เป็นคำถาม เพื่อให้นักเรียนพัฒนา
จุดบกพร่องของตนเอง ซึ่งการใช้หลักการคิดแบบหมวก 6 ใบก็ช่วยครูและนักเรียนได้ ในการ
ส่งเสริมให้นักเรียนพัฒนางานด้วยตนเอง
ลักษณะผลงานที่สะท้อนการคิด (ดร.โกวิท ประวาลพฤกษ์ 9 กพ.50)
1. ข้อมูลที่เสนอ จัดไว้อย่างกระจัดกระจาย พูดเสนอทีละเรื่อง ทีละอย่างโดด ๆ
2. เสนอแบบมีการจัดกลุ่ม บอกลักษณะที่ใช้ในการจัดกลุ่ม ถ้ามีข้อมูลระดับนามธรรม
ก็กลายเป็นความคิดรวบยอด จัดกลุ่มได้ บอกลักษณะร่วมได้
3. ข้อมูลแสดงถึงการเรียงลำดับ เชื่อมโยงสัมพันธ์ เกี่ยวข้องกัน ด้วยลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่ง
เชื่อมโยงเป็น แต่ยังไม่เป็นเหตุเป็นผล
4. นำเสนออธิบายอย่างเป็นเหตุเป็นผล บอกเป็นกระบวนการ และผลทำอย่างนี้แล้วเป็นผล
เช่นนี้จริง ทั้งข้อมูลที่เป็นรูปธรรม และนามธรรม
5. ขยายกระบวนการ เหตุผลเป็นภาพเน้นระบบ มีทั้งองค์ประกอบ การปฏิสัมพันธ์
กระบวนการจนเกิดผล และผลกระทบ มีภาพเชื่อมโยงแบบเหตุและผลหลาย ๆ สิ่ง เช่นระบบนิเวศ
6. ภาพที่เห็นได้ เป็นภาพระบบใหญ่ มีภาพชีวิตจริง ขยายกว้างเป็นระบบกว้างถึงสิ่งแวดล้อม
บูรณาการเป็นหนึ่งเดียวกัน
7. อธิบายถึงคุณค่าแห่งคน ความยุติธรรมเสมอภาค ทุกชีวิตมีค่าเท่าเทียมกัน มุ่งเน้นเข้าสู่
ความจริงแท้ที่เป็นสากล
ทักษะ คือ ความชำนาญ ความรู้ ความสามารถ ดังนั้นผู้ที่จะมีทักษะในเรื่องหนึ่งเรื่องใด จึงต้องเป็นผู้ที่จะต้องผ่านกระบวนการต่างๆ ดังนี้(1) กระบวนการเรียนรู้ คือต้องเรียนรู้ในเรื่องนั้นๆ จนแตกฉาน คือ รู้อย่างลึกซึ้ง แท้จริง ได้แก่การเรียนรู้หลักกฎหมาย แนวคำวินิจฉัยของศาลฎีกา ตลอดจนแนวปฏิบัติในเรื่องดังกล่าว อาทิเช่น เรื่องกฎหมายครอบครัว เรื่องกฎหมายมรดก หรือเรื่องเกี่ยวกับกฎหมายอาญา ทนายความผู้ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาไม่จำเป็นที่จะต้องมีความรู้ในกฎหมายทุกเรื่อง อาจรู้เพียงกฎหมายบางเรื่อง แต่ขอให้รู้อย่างลึกซึ้งแท้จริง ก็สามารถทำหน้าที่เป็นผู้ให้คำปรึกษาที่ดีได้ คือให้คำปรึกษาได้อย่างถูกต้อง ไม่ผิดในเรื่องของหลักกฎหมาย ทนายความยิ่งมีความรู้ความเชี่ยวชาญในกฎหมายมากเท่าใด ก็ยิ่งทำให้ทนายความผู้นั้นสามารถให้คำปรึกษาเรื่องต่างๆ ได้มากยิ่งขึ้น(2) กระบวนการสร้างความชำนาญ เนื่องจากการทำหน้าที่ให้คำปรึกษากฎหมายมิได้จำกัดเฉพาะการให้คำปรึกษาหลักกฎหมายแก่ประชาชนเท่านั้น หากแต่ผู้ให้คำปรึกษาต้องสามารถให้คำแนะนำเกี่ยวกับวิธีการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นด้วย อาทิเช่น ปัญหาการขอประกันตัวผู้ต้องหา หรือจำเลยในคดี ในคดีอาญา ปัญหาเรื่องภาษีอากร เป็นต้น หากผู้ให้คำปรึกษาไม่เคยผ่านงานด้านนั้นมาก่อนก็ไม่อาจให้คำปรึกษาหรือวิธีการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้ความชำนาญจะเกิดขึ้นได้จากการปฏิบัติงานในเรื่องนั้นๆ เป็นเวลานานพอสมควร ประสบการณ์จากการปฏิบัติงานจะสะสมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนกลายเป็นความชำนาญของผู้ปฏิบัติงานในที่สุด ดังนั้นการเสริมสร้างความชำนาญให้เกิดขึ้น จึงจำเป็นที่จะต้องอาศัยระยะเวลานานพอสมควร ซึ่งขึ้นอยู่กับการเรียนรู้ของแต่ละบุคคลด้วย ทนายความบางท่านอาจมีความชำนาญในเรื่องคดีอาญาเพราะได้สะสมประสบการณ์จากการว่าความในคดีอาญามาเป็นเวลานาน ทนายความบางท่านอาจมีความชำนาญในเรื่องคดีภาษี เพราะถ้าสะสมประสบการณ์จากการว่าความในคดีภาษีมาเป็นเวลานาน ทนายความที่มีความชำนาญในแต่ละเรื่องดังกล่าว เมื่อมาทำหน้าที่เป็นผู้ให้คำปรึกษาก็จะเป็นผู้ให้คำปรึกษาที่ดีได้ เพราะมีความชำนาญในเรื่องดังกล่าว อาจกล่าวได้ว่าที่ปรึกษาที่ดีจะต้องเป็นผู้ผ่านงานในภาคปฏิบัติมาจนมีความชำนาญ หากมีความรู้แต่หลักกฎหมายแต่ไม่มีความชำนาญในภาคปฏิบัติก็ไม่อาจเป็นที่ปรึกษาที่ดีได้ เนื่องจากจะเข้าลักษณะรู้แต่ทฤษฎีไม่รู้ภาคปฏิบัติซึ่งย่อมไม่สามารถแก้ไขปัญหาของผู้ขอคำปรึกษาได้การเสริมสร้างบุคลิกภาพเนื่องจากบุคลิกภาพ คือ รูปธรรมที่ประชาชนสัมผัสได้ตั้งแต่แรกเริ่มที่พบเห็น ดังนั้นบุคลิกภาพจึงมีส่วนสำคัญในการเสริมสร้างความเชื่อมั่นให้เกิดขึ้นแก่ผู้ขอคำปรึกษา ผู้ให้คำปรึกษาที่ดีนอกจากจะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้และความชำนาญในเรื่องที่ให้คำปรึกษาแล้ว จึงควรที่จะต้องเป็นผู้ที่มีบุคลิกภาพที่ดีด้วยบุคลิกภาพแบ่งออกเป็นบุคลิกภายนอกและบุคลิกภายในบุคลิกภายนอก คือ รูปธรรมที่สามารถสัมผัสได้ด้วยประสาททั้งห้า ได้แก่ รูปร่าง หน้าตา การแต่งกาย กริยาท่าทาง ทนายความผู้ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาจึงควรเป็นผู้ที่มีบุคลิกภายนอกที่ดี กล่าวคือ แต่งกายสะอาด สุภาพ เรียบร้อย กิริยาท่าทางน่าเชื่อถือบุคลิกภายใน เป็นสิ่งที่มองไม่เห็น สัมผัสได้ยาก แต่เป็นการแสดงออกของตัวบุคคลจากภายในสู่ภายนอก ได้แก่ ความเชื่อมั่นในตนเอง ความกระตือรือร้น ความจริงใจ ความรับผิดชอบ ทนายความผู้ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาจึงควรเป็นผู้ที่มีบุคลิกภายในที่ดีคือ มีความเชื่อมั่นในตนเองสูง มีความกระตือรือร้น ตั้งอกตั้งใจที่จะรับฟังปัญหาของผู้ที่มาปรึกษา มีความจริงใจที่จะให้คำปรึกษาและแสดงออกให้เห็นถึงความรับผิดชอบอย่างต่อเนื่องก็จะทำให้ผู้ที่มาขอคำปรึกษาเกิดความเชื่อมั่นกล่าวโดยสรุป การเสริมสร้างบุคลิกภาพทั้งภายนอกและภายในมีหลัก 10 ประการดังนี้ข้อ 1. การเสริมสร้างความเชื่อมั่นในตนเองการที่เราเป็นผู้มีความเชื่อมั่นในตนเอง จะทำให้บุคลิกภาพภายนอกของเราแสดงออกด้วยความมั่นใจ ซึ่งย่อมประทับใจแก่ผู้ที่พบเห็น การที่จะมีความเชื่อมั่นในตนเองได้ก็ต้องผ่านกระบวนการเรียนรู้และกระบวนการสร้างความชำนาญจนมีทักษะในเรื่องนั้นๆ เป็นอย่างดีข้อ 2. การเสริมสร้างด้วยการแต่งกายดี ถูกกาละเทศะการแต่งกายดีไม่ได้หมายความว่า ต้องแต่งกายด้วยสินค้าราคาแพงหรือเป็นสินค้าจากต่างประเทศ หากแต่หมายถึงการแต่งกายที่ถูกกาละเทศะ การแต่งกายที่สะอาดภูมิฐานทำให้เกิดความประทับใจแก่ผู้ที่พบเห็น ดังจะเห็นได้ว่าแม้แต่ข้อบังคับสภาทนายความว่าด้วยมรรยาททนายความก็ยังกำหนดมรรยาทว่าด้วยการแต่งกายของทนายความไว้ด้วยอันแสดงให้เห็นว่าการแต่งกายมีส่วนเสริมสร้างบุคลิกภาพของผู้ที่เป็นทนายความได้เป็นอย่างมากข้อ 3. ความจริงใจและความเป็นมิตรกับผู้อื่นความจริงใจและความเป็นมิตรย่อมเป็นสิ่งที่ดี เพราะเป็นสื่อที่ช่วยสร้างให้ผู้ที่พบเห็นเกิดความรู้สึกที่ดีว่า เราเป็นผู้ที่ห่วงใยเขา จริงใจที่จะช่วยแก้ไขปัญหาให้แก่เขา ก็จะทำให้การถ่ายทอดข้อเท็จจริงเป็นไปโดยไม่ปิดบังอำพรางข้อ 4. ความรอบรู้ รอบคอบ ความรอบรู้ รอบคอบ เป็นองค์ประกอบหนึ่งที่จะช่วยเสริมสร้างความเชื่อมั่นในตนเองดังที่ได้กล่าวมาแล้วในหัวข้อเรื่องกระบวนการเรียนรู้ ผู้ที่จะทำหน้าที่เป็นผู้ให้คำปรึกษาที่ดีจึงต้องเป็นผู้ที่ตื่นตัวในเรื่องการเรียนรู้อยู่ตลอดเวลาข้อ 5. ความกระตือรือร้นและความคิดสร้างสรรค์หากเรามีความรู้ ความสามารถ แต่ขาดความกระตือรือร้นก็จะกลายเป็นผู้ที่มีบุคลิกภาพเฉื่อยชา ไม่สนใจในปัญหาของผู้ที่มาขอคำปรึกษา ส่งผลให้ไม่กระตือรือร้นที่จะคิดหาวิธีการ หรือทางออกให้แก่ผู้ที่มาขอคำปรึกษา ดังนั้นผู้ให้คำปรึกษาที่ดีจึงต้องเป็นผู้ที่มีความกระตือรือร้น และมีความคิดสร้างสรรค์ข้อ 6. ความจำ ปฏิภาณไหวพริบบ่อยครั้งที่การให้คำปรึกษาไม่อาจจบลงในคราวเดียว อาจต้องพบปะปรึกษากันหลายครั้ง ผู้ให้คำปรึกษาที่ดีจึงควรเป็นผู้ที่มีความจำดี สามารถจดจำข้อเท็จจริงหรือปัญหาของผู้ที่มาขอคำปรึกษาได้ ซึ่งจะสร้างความประทับใจแก่ผู้ที่มาขอคำปรึกษา ตรงกันข้ามหากผู้ให้คำปรึกษาเป็นผู้ที่มีความจำไม่ดี ไม่มีปฏิภาณไหวพริบ อาจทำให้ผู้ที่มาขอคำปรึกษาขาดความเชื่อถือได้ข้อ 7. ความรับผิดชอบและความเข้มแข็งอดทนการทำหน้าที่ให้คำปรึกษา ผู้ให้คำปรึกษาจะต้องมีความรับผิดชอบ โดยไม่ให้คำปรึกษาอย่างผิดๆ สิ่งใดที่ยังไม่รู้หรือไม่แน่ใจอาจขอคำแนะนำเพิ่มเติมจากบุคคลอื่นที่รู้ หรือขอเวลาศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม จึงจะเรียกว่า เป็นผู้มีความรับผิดชอบ ขณะเดียวกันต้องเป็นผู้ที่มีความเข้มแข็งอดทน ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค์ที่เกิดขึ้นข้อ 8. ความมีสติ สุขุม เยือกเย็นผู้ให้คำปรึกษาที่ดีไม่ว่าจะทำ จะคิด หรือจะพูดสิ่งใด ต้องมีสติตลอดเวลา เพราะความคิดและคำพูดของเราที่ถ่ายทอดออกไปนั้น คือคำแนะนำที่ผู้มาขอปรึกษาจะต้องนำไปปฏิบัติตาม หากเราคิดหรือพูดโดยไม่มีสติก็จะทำให้คำปรึกษานั้นไม่ถูกต้อง ซึ่งจะส่งผลอันตรายแก่ผู้มาขอคำปรึกษาเป็นอย่างยิ่ง นอกจากความมีสติแล้วผู้ให้คำปรึกษาต้องเป็นผู้มีความสุขุม เยือกเย็น แม้ว่าจะถูกโต้แย้ง จากผู้มาปรึกษา หรือถูกแสดงกิริยามารยาทไม่เคารพเชื่อถือ หรือไม่ศรัทธาก็ตามข้อ 9. การมีสุขภาพใจที่ดีการมีสุขภาพใจที่ดีหมายความว่า มีจิตใจสบายไม่กังวล ไม่เคร่งเครียดกับสภาวะสิ่งต่างๆ รอบตัวเรามากเกินไป ต้องรู้จักปล่อยวางบ้าง เมื่อสุขภาพใจของเราดี สมองย่อมโปร่งใส ส่งผลให้บุคลิกภาพของเราดีขึ้นด้วยข้อ 10. การมีสุขภาพกายที่ดีกายกับใจ เป็นสิ่งที่คู่กัน แยกกันไม่ออก สุขภาพใจที่ดีต้องอยู่กับสุขภาพกายที่ดีด้วย ดังนั้นการรักษาสุขภาพกายให้แข็งแรงสมบูรณ์จึงเป็นสิ่งสำคัญ เพราะหากสุขภาพกายไม่ได้ สุขภาพใจก็จะไม่ดีตาม ส่งผลให้บุคลิกภาพของเราไม่ดีด้วย และยังทำให้กระบวนการต่างๆ เกี่ยวกับการทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษากฎหมายที่ดีพลอยลดน้อยถอยลงไปด้วย




วันอังคารที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

การใช้ can could


กฎการใช้ Can Could
Can Could แปลว่า "สามารถ"

1.ใช้กล่าวถึงความสามารถว่าสามารถทำสิ่งนี้สิ่งนั้นได้ เช่น I can play the piano.

I can speak French.

ในรูปประโยคปฎิเสธและคำถามสามารถใช้ can ได้เลยเช่นShe can't drive.

Can you drive?

2.เราจะไม่ใชั can กับ infinitive หรือ participles แต่เมื่อจำเป็นเราจะใช้คำอื่นแทน เช่น Are you be able to go home late?

She will be able to drive soon.

3.Could เป็น past ของ can เราใช้ could สำหรับความสามารถทั่วไป หรือการอนุญาต เช่น She could speak three languages when she was five.

He finished his home work. He could go out to play.

3.1 กับความสามารถ (ability) I can use a computer.

3.2 การขอหรือการให้อนุญาต Can I use your bicycle?

You can leave early today. แต่ถ้าเป็นแบบสุภาพหรือเป็นทางการเราจะใช้ Could เช่น

Could you hand me that book, please?

3.3 การขอร้อง (requests) Can you....?

Could you...? สุภาพกว่า

Do you think you could...?

Can you take this bag?

Could you loan a hundred baht?

Do you think you could help me move this box?

3.4 เสนอตัวเพื่อช่วยเหลือ (offers) เช่น Can I turn the air on for you ?
3.5 พูดถึงความเป็นไปได้และคาดคะเนในสิ่งที่อาจจะเกิดขึ้น (possibility and probability) ใช้ can กับสถานการณ์หรือเหตุการณ์ที่เป็นไปได้ เช่น This road can be dangerous at night.
กฎการใช้ May Might 1.ใช้กับการพูดถึงการมีโอกาสของบางสิ่งบางทีอาจเป็นจริงหรืออาจจะเกิดขึ้น เช่น
We may take a day off next week.He might call me tonight.

2. might ไม่ได้เป็น past ของ may เราจะใช้ might เมื่อเรามีโอกาสที่น้อยกว่า may เช่นI may go to visit my parents in this weekend. (บางทีโอกาสจะเป็น 50%)Jane might go with me. (บางทีโอกาสจะเป็น 30% )
3.การใช้ may/might กับ have ใช้แสดงการคาดคะเนที่อาจจะเกิดขึ้นในอดีต may/might + have +V3She may have gone out when I phoned her.A: I can't find my book.B:You might have left it at school.4. ใช้ may might ในการขออนุญาตเช่นMay I sit here?I wonder if I might have another cup of coffee?5. ใช้ may ในการอนุญาตและไม่อนุญาตเช่นChildren may not play alone in the pool.A: May I turn the TV on?B: Yes, of course you may.

วันเสาร์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

my first blog

Good morning every body, welcome
I will show you about my first blog.