วันศุกร์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

Learninglog


ในเทอมนี้ได้เรียนวิชาพืชพรรณเพื่อชีวิต และวันนี้ก็ได้มีการแบ่งกลุ่มเพื่อทำงานกับเป็นกลุ่ม อาจารย์ก็ได้บอกถึงรายละเอียดเกี่ยวกับรายวิชานี้ให้ฟัง

และให้ดูตัวอย่างการศึกษาค้นคว้า นอกจากนี้แล้วอาจารย์ได้มอบหมายงานให้ไปศึกษาค้นค้วางานพืชพรรณ พร้อมกับบอการยละเลียดของพืชพรรณ ว่ามีลักษณะที่แตกต่างอย่างไร

เทียนทอง
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Duranta erecta L.
ชื่อวงศ์ : Verbenaceae
ลักษณะทั่วไป (Characteristic) : ไม้พุ่มขนาดเล็ก ลำต้นแตกกิ่งก้านจำนวนมาก ทรงพุ่มแน่นทึบ เปลือกสีน้ำตาลอ่อน ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปรีถึงรูปไข่ กว้าง 1-1.5 เซนติเมตร ยาว 1.5-2 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ขอบใบหยัก แผ่นใบสีเขียวอ่อนอมเหลืองถึงสีเหลืองทอง ดอก สีม่วง ออกเป็นช่อเเบบช่อกระจุกที่ปลายกิ่ง โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นรูปกรวย ปลายแยกเป็น 5 แฉก ดอกบานเต็มที่กว้างประมาณ 1.5 เซนติเมตร ผล (Fruit) : ผลสด รูปกลม ขนาด 0.5-0.8 เซนติเมตร สีเหลือง มีเมล็ด 1 เมล็ด การใช้งานด้านภูมิทัศน์ นิยมปลูกประดับสวน ทำขอบแปลง ตัดแต่งเป็นรั้ว ริมถนนทางเดิน สระว่ายน้ำ ทะเล ไม่ควรปลูกใกล้สนามเด็กเล่น


บัวดิน
ชื่อพื้นเมือง :บัวดินชมพู
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Zephyranthes roseus Lind I.
ชื่อวงศ์ : AMARYLLIDACEAE
ชื่อสามัญ : Fairy lily.
ประโยชน์ : ปลูกเป็นไม้ประดับ



โกสน
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Codiaeum variegatum Blume
ชื่อวงศ์ : Euphorbiaceae
ชื่อสามัญ : Garden croton
ชื่อพื้นเมือง : กรีสาเก โกรต๋น
ลักษณะทั่วไป (Characteristic) : ไม้พุ่มขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ทรงพุ่มรูปไข่ แน่นทึบ
ใบ (Foliage) : ใบเดี่ยว เรียงสลับ ใบรูปขอบขนานแกมรูปไข่หรือรูปไข่กลับแกมรูปขอบขนาน นอกจากนี้ยังมีอีกหลายแบบ เช่น กลม แคบยาว บิดเป็นเกลียว ปลายใบแหลมหรือมน มีติ่ง โคนสอบ ชอบเรียบ หรือหยักเว้า บางพันธุ์เว้าลึกถึงเส้นกลางใบ และเว้นห่างเป็นสองตอนลักษณะและขนาดของใบแปรไปตามพันธุ์ แผ่นใบมีสีต่างๆ เช่น ชาว เหลือง ส้ม ชมพู แดง ม่วงดำ ก้านใบยาว 0.5-5 เซนติเมตร
ดอก (Flower) : สีขาว ออกดอกเป็นช่อแบบช่อกระจะตามซอกใบและปลายกิ่ง ดอกแยกเพศอยู่ร่วมต้น ช่อดอกเพศผู้โค้งลง ก้านยาว ดอกกลม มีดอก 30-60 ดอก กลีบเลี้ยงขนาดเล็ก มี 3-6 กลีบ กลีบดอก 5-6 กลีบ ดอกมีขนาดประมาณ 3 มิลลิเมตร ช่อดอกเพศเมียตั้งตรง ก้านช่อยาว มีดอก 10-20 ดอก กลีบเลี้ยงแนบรังไข่ ไม่มีกลีบดอก
ผล (Fruit) : ผลแห้ง ทรงค่อนข้างกลม เมื่อแก่แตกเป็น 2 ซีก ขนาด 1 ซม. มีเมล็ดสีน้ำตาลเป็นกระ 2 เมล็ด
ประโยชน์ : ใบมีสรรพคุณแก้โรคระบบทางเดินปัสสาวะผิดปกติ

ลิ้นมังกร
ชื่อสามัญ: Mather - in - law's Tongue
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Sancivieria..
ตระกูล : AGAVACEAE
ถิ่นกำเนิด : แถบทวีปยุโรปและอเมริกาเหนือ
ลักษณะทั่วไป : ลิ้นมังกรเป็นพรรณไม้ ที่มีลำต้นเป็นหัว หรือเหง้าอยู่ในดิน ลักษณะลำต้นเป็นข้อๆ ใบเกิดจากหัวที่โผล่ออมาพ้นดินเป็นกอ ลักษณะใบยาวปลายแหลม แข็งเป็นมัน ขอบใบเรียบ โค้งงอเล็กน้อย ขอบใบมีสีเหลืองกลางใบสีเขียวอ่อน ประด้วยเส้นสีเขียวเข้ม ขนาดของใบกว้างประมาณ 4-7 เซนติเมตร ยาวประมาณ 30-50 เซนติเมตร ก้านดอกประกอบด้วยกลุ่มดอกเป็นชั้น ๆ ลักษณะดอกมีขนาดเล็ก ออเรียงกันเป็นแนวตามชั้นของก้านดอกดอกมีสีขาวมีกลีบประมาณ 5 กลีบ นาดดอกบานเต็มที่ 2 เซนติเมตร ลักษณะขนาดใบ และสีสันจะแตกต่างกันไปตามชนิดพันธุ์การเป็นมงคลคนไทยโบราณเชื่อว่า บ้านใดปลูกต้นลิ้นมังกรไว้ประจำบ้าน จะช่วยป้องกันอันตรายจากภายนอกได้ เพราะลิ้นมังกร บางคนเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าหอกพระอินทร์ ซึ่งเป็นอาวุธชนิดหนึ่งของพระอินทร์ ที่ใช้ในการต่อสู้และปกป้องศัตรูจากภายนอก ดังนั้นลิ้นมังกรจึงเป็นไม้ที่มีความศักดิ์สิทธิ์ เพราะเป็นไม้ที่มีความสำคัญของพระอินทร์ในสมัยพุทธกาลตำแหน่งที่ปลูกและผู้ปลูกเพื่อเป็นสิริมงคลแก่บ้านและผู้อาศัย ควรปลูกต้นลิ้นมังกรไว้ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ผู้ปลูกควรปลูกในวันอังคาร เพราะโบราณเชื่อว่าการปลูกไม้เอาประโยชน์ทั่วไปทางใบให้ปลูกในวันอังคารการปลูก มี 2 วิธี1.การปลูกในแปลงปลูกเพื่อประดับบริเวณบ้านและสวนนิยมปลูกในแปลงปลูกเพื่อประดับบริเวณบ้านและสวนแต่คนโบราณ

















ไม่มีความคิดเห็น: